การให้บริการชุมชนด้วยการป้องกันการใช้ยาเกินขนาดจากสารอนุพันธ์ฝิ่น Servicing Communities with Opioid Overdose Prevention (SCOOP) การสรุปบทเรียนจากประเทศไทย

Publications

การให้บริการชุมชนด้วยการป้องกันการใช้ยาเกินขนาดจากสารอนุพันธ์ฝิ่น Servicing Communities with Opioid Overdose Prevention (SCOOP) การสรุปบทเรียนจากประเทศไทย

2 September 2015

แม้รัฐบาลไทยจะเปลี่ยนไปหลายสมัย แต่พันธกิจระดับชาติ ในการปราบปรามยาเสพติดก็ยังคงได้รับความสนใจมาตลอดในช่วง ทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากมีข้อเรียกร้องจากนานาชาติสาหรับการ แก้ไขปัญหาที่สมดุล บ้างก็ชื่นชมความเป็นผู้นาในการแก้ปัญหานี้ ใน ขณะเดียวกันก็มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หลายรัฐบาลได้ดาเนินงานการรณรงค์เพื่อให้ประเทศปลอดยาเสพติด และให้การรักษาแก่ผู้ที่เคยใช้สารเสพติดทั้งหลาย น่าเสียดายที่หลักฐาน เชิงประจักษ์จากนานาชาติ บ่งบอกว่า กลยุทธ์ที่ใช้รูปแบบการบังคับ และบทลงโทษทางกฎหมายนั้น อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี เช่น กระตุ้นให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเลือด อื่นๆ และยังก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดอีกด้วย1,2,3 ในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ประชากรในประเทศอายุระหว่าง 12-65 ปี ประมาณร้อยละ 5 หรือประมาณ 2.5 ล้านคน ใช้สารเสพติด และกว่า 40,000 คน เป็นผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดความชุกของเชื้อ เอชไอวีในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดในประเทศไทยยังอยู่ในระดับสูง ระหว่างร้อยละ 25-40 ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา4,5 ประมาณร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างของผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดในกรุงเทพมหานครเคย มีประวัติการใช้ยาเกินขนาดที่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตมาแล้วอย่างน้อย หนึ่งครั้ง ขณะที่ร้อยละ 68 เคยมีประสบการณ์อยู่ในเหตุการณ์ของการ ใช้ยาเกินขนาดมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง6

สมัครสมาชิก แจ้งข่าวIDPC ทุกเดือน เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนโยบายยาเสพติด